วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสมและแบบจุดต่อจุด


1. แบบผสม (Hybrid) อย่างไรก็ตามโทโปโลจีแต่ละประเภทจะมีข้อดีและ 
ข้อจำกัดแตกต่างกันผู้พัฒนาระบบจะต้องพิจารณาถึงความเร็ว ความเชื่อถือได้ 
และความสามารถของเครือข่ายในการทำงาน
หรือการแก้ไขข้อบกพร่องในกรณีที่อุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่ง ในระบบมีปัญหาตลอดจนลักษณะทางกายภาพ 
เช่น ระยะห่างของ node และต้นทุนของทั้งระบบ 

mesh



รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด (peer- to-peer)
เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน โดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด
ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด เชื่อมต่อสายสื่อสาร
ไว้ตลอดเวลา (Lease Line) ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว (Simplex)
สายส่งกึ่งทางคู่ (Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์ (Full-duplex) ก็ได้
และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบอซิงโครนัส
การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะ
ซึ่งการเชื่อมด้วยวิธีนี้จะมีคุณสมบัติ 3 ประการ ที่สำคัญ ดังนี้
1. เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกันแบบโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง
แบนด์วิดธ์บนสายสื่อสารที่ใช้งานระหว่างกันจะสามารถใช้งานได้
อย่างเต็มที่ โดยไม่มีโหนดอื่น ๆ เข้ามาแชร์การใช้งาน
2. มีความยืดหยุ่นในส่วนของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สื่อสารกัน รวมถึงรูปแบบของแพ็กเก็ตข้อมูล
3. มีความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวในข้อมูลที่สื่อสารกัน 
เนื่องจากช่องทางการสื่อสารที่ใช้สื่อสารกันไม่มีการแชร์เพื่อใช้งานร่วมกับโหนดอื่น ๆ
        ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของการเชื่อมแบบจุดต่อจุดคือ จะส่งผกระทบต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น 
เมื่อมีอัตราการเพิ่มจำวนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย 
โดยหากมีการเพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์เพิ่มอีกหนึ่งเครื่องบน Location 1 
จะต้องเพิ่มสายจากเดิมที่มีอยู่ 10 เส้น เป็น 15 เส้น นั่นหมายถึง หากมีการเพิ่มจำนวน N เครื่องเข้าไป
จำนวนสายที่ต้องโยงก็จะเพิ่มขึ้นใหม่เป็น N – 1 นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น